ที่มาของเรื่อง
หัวใจชายหนุ่ม
เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ดุสิตสมิต” เมื่อ พ.ศ. 2464
ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ
รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ “ประพันธ์
ประยูรสิริ”
เป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมของไทยผ่านมุมมองของ “ชายหนุ่ม” (นักเรียนนอก)
ในรูปแบบจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ “ประเสริฐ สุวัฒน์” โดยทรงพระราชนิพนธ์ชี้แจงไว้ในคำนำนวนิยายเรื่องนี้
ลักษณะคำประพันธ์
หัวใจชายหนุ่ม
เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมายทั้ง 18 ฉบับในเรื่อง ดังนี้
1) หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่
1 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 256- จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.256-
จะเห็นว่ามีการเว้นเลขท้ายปี พ.ศ. ไว้
2) คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง
18 ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก”
3) คำลงท้าย
จะใช้คำว่า “จากเพื่อน.....” “แต่เพื่อน.....” แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์
เช่น “แต่เพื่อนผู้ใจคอออกจะยุ่งเหยิง” (ฉบับที่ 10) มีเพียง 9 ฉบับเท่านั้น ที่ไม่มีคำลงท้าย
4) การลงชื่อ ตั้งแต่ฉบับที่ 14 เป็นต้นไป ใช้บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน
คือ “บริบาลบรมศักดิ์” โดยตลอด
แต่ฉบับที่ 1-13 ใช้ชื่อ “ประพันธ์”
5) ความสั้นยาวของจดหมาย
มีเพียงฉบับที่ 14 เท่านั้นที่มีขนาดสั้นที่สุด
เพราะเป็นเพียงจดหมายที่แจ้งไปยังเพื่อนว่าตนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
According to Stanford Medical, It is in fact the one and ONLY reason this country's women get to live 10 years more and weigh 19 KG lighter than we do.
ตอบลบ(And realistically, it has totally NOTHING to do with genetics or some hard exercise and really, EVERYTHING related to "HOW" they eat.)
BTW, What I said is "HOW", not "what"...
CLICK this link to reveal if this easy quiz can help you unlock your true weight loss potential