ที่มาของเรื่อง
หัวใจชายหนุ่ม
เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ดุสิตสมิต” เมื่อ พ.ศ. 2464
ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ
รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ “ประพันธ์
ประยูรสิริ”
เป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมของไทยผ่านมุมมองของ “ชายหนุ่ม” (นักเรียนนอก)
ในรูปแบบจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ “ประเสริฐ สุวัฒน์” โดยทรงพระราชนิพนธ์ชี้แจงไว้ในคำนำนวนิยายเรื่องนี้
ลักษณะคำประพันธ์
หัวใจชายหนุ่ม
เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมายทั้ง 18 ฉบับในเรื่อง ดังนี้
1) หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่
1 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 256- จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.256-
จะเห็นว่ามีการเว้นเลขท้ายปี พ.ศ. ไว้
2) คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง
18 ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก”
3) คำลงท้าย
จะใช้คำว่า “จากเพื่อน.....” “แต่เพื่อน.....” แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์
เช่น “แต่เพื่อนผู้ใจคอออกจะยุ่งเหยิง” (ฉบับที่ 10) มีเพียง 9 ฉบับเท่านั้น ที่ไม่มีคำลงท้าย
4) การลงชื่อ ตั้งแต่ฉบับที่ 14 เป็นต้นไป ใช้บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน
คือ “บริบาลบรมศักดิ์” โดยตลอด
แต่ฉบับที่ 1-13 ใช้ชื่อ “ประพันธ์”
5) ความสั้นยาวของจดหมาย
มีเพียงฉบับที่ 14 เท่านั้นที่มีขนาดสั้นที่สุด
เพราะเป็นเพียงจดหมายที่แจ้งไปยังเพื่อนว่าตนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์